BlogEddie BlogNews

BIGBANG กับความสำเร็จระดับโลกที่ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์ของ YG ‘Yang Hyunsuk’

ท่ามกลางบรรยากาศคอนเสิร์ทของ BIGBANG ที่แคลิฟอร์เนีย ภาพของแฟนจากรัซเซียร้องไห้ขณะชมคอนเสิร์ท มันเหมือนกับภาพของคอนเสิร์ท Backstreet Boys ที่เกิดขึ้นในปลายยุค 90

bigbang-made

บทความจาก Forbes ได้ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา BIGBANG ทำรายได้กว่า 44 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1550 ล้านบาท) ในขณะที่วงป๊อปแบนด์ของอเมริกาอย่าง Maroon 5 มีรายได้ในปีที่ผ่านมา 33.5 ล้านเหรียญ

🎙GYUBIN ปลื้มเมืองไทยขนาดไหน? ถึงกลับมาถ่าย MV เพลงใหม่ LIKE U 100 ที่กรุงเทพ

▶ คลิกดูสัมภาษณ์พิเศษ

“เราทำได้มากกว่า Maroon 5 เหรอ” G-Dragon ถามทีมสัมภาษณ์จาก Forbes “ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย เพราะแม่เป็นคนดูแลเรื่องรายได้ของผม”

คงไม่ใช่แค่เพียงแต่แม่ของเค้าที่รู้เรื่องนี้ เพราะเบื้องหลังของ ฺBIGBANG คือ ยางฮยอนซอก สมาชิกวง Seo Taiji and Boys ไอดอลยุคแรกๆของวงการ KPOP และค่ายเพลง YG Entertainment ของเค้าที่มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์กว่า 630 ล้านเหรียญ ครอบคลุมธุรกิจตั้งแต่ การดูแลศิลปิน คอนเสิร์ท แฟชั่น ภาพยนต์ ไปจนถึงอาหาร และไม่ใช่แค่สร้างความสำเร็จให้กับศิลปินในค่าย แต่ YG ยังเป็นแกนนำของวงการ KPOP ยุคใหม่ ที่ขยายความนิยมจากระดับทวีป สู่ระดับโลก

ในความสำเร็จของ YG ยังรวมถึงศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปอย่าง 2NE1 ที่เปิดคอนเสิร์ทในหลสยประเทศทั่วโลก และเป็นพรีเซนเตอร์ถ่ายโฆษณาให้กับ ADIDAS ร่วมกับ Nicki Minaj ในขณะที่เพลง Gangnam Style ของ Psy ที่มียอดวิว MV กว่า 2600 ล้านครั้ง ก็เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จ หลังจากยุคที่ KPOP เริ่มแพร่ความนิยมไปทั่วเอเชีย

“ในสมัยก่อนการจำหน่ายเพลง หรือการเข้าถึงเพลงมันจำกัด แต่ตอนนี้เรามถึงยุคดิจิตอลแล้ว เส้นแบ่งเขตของภูมิภาคมันก็ค่อยๆเป็นปัญหาน้อยลง” YG พูดถึงความแตกต่างในตลาดเพลงของอดีตและปัจจุบัน

2ne1-featured-with-world-famous-artists-nicki-minaj-and-derrick-rose-on-adidas-all-originals-represent-ad

ยางฮยอนซอก ออกจาก Seo Taiji and Boys ในช่วงรุ่งเรืองปี 1996 เพื่อเริ่มต้น YG ซึ่งทำให้เค้าได้พบกับ G-Dragon ที่เริ่มฝึกกับเค้ามาตั้งแต่อายุ 12 พร้อมกับ สมาชิกอย่าง แทยัง

ปี 2006 BIGBANG ได้เริ่มต้นขึ้น พร้อมกับการออก 6 อัลบั้มในอีก 6 ปีต่อมา ทั้งในเกาหลีและญี่ปุ่น และการเติบโตของ YouTube ก็ทำให้ BIGBANG เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

“YouTube ไม่ทำรายได้ให้กับเรา แต่มันคือการเผยแพร่ที่ทำให้วงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง”

การตลาดของ YG ไม่ได้หารายได้จากการจำหน่ายอัลบัมเท่านั้น แต่เป็นการผสมผสานการจัดคอนเสิร์ท และการจัดการศิลปินเข้าด้วยกัน โดยรายได้ของ YG ในส่วนการจำหน่ายอัลบัมคิดเป็น 25% ของรายได้รวม ในขณะที่การแสดงสดของศิลปินสามารถทำรายได้มากกว่านั้น ซึ่งวงอย่าง BIGBANG รายได้เฉลี่ยต่อ 1 โชว์ของ MADE World Tour อยู่ที่ 2.6 ล้านเหรียญ (ประมาณ 90 ล้านบาท)

40% ของรายได้ YG มาจากในเกาหลี ในขณะที่รายได้ในต่างประเทศทั้งหมดมาจาก ญี่ปุ่น 36% ในจีน 20% ในปี 2014 กลุ่ม LVMH ได้ซื้อหุ้น 12% ของ YG เป็นมูลค่า 80 ล้านเหรียญ นอกจากนั้นยังมีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลี ประมาณ 100 ล้านเหรียญ ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิง ที่จะทำให้ โซล เป็น Studio City of K-Pop

 

ในตลาดอเมริกาเหนือ โชว์ของ YG สามารถทำรายได้ได้ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จนทำให้ Hollywood สนใจศิลปินอย่าง Psy ในขณะที่ 2NE1 ก็กลายเป็นศิลปินที่ถูกสนใจเอเจนซี่ชื่อดัง Scooter Braun ที่ดูแลดารากว่า 100 คน รวมถึง Justin Bieber และ Martin Garrix

ในด้านรายได้ BIGBANG ทำได้มากกว่าศิลปินอย่าง Martin Garrix และเกือบที่จะเท่ากับ Justin Bieber ซึ่งหลายๆคนอาจจะประหลาดใจกับเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่ ยางฮยอนซอก

“ผมไม่แปลกใจกับความสำเร็จนี้ เพราะผมมั่นใจว่าพวกเค้าจะได้รับความรักจากทุกคนทั่วโลก”

Source 1

อ่านต่อ

Eddie Sophon

ผู้ก่อตั้งร่วมของ Hallyu K Star, โฮสต์พอดแคสต์ 'ดูซีรีส์ให้ซีเรียส' ผู้สนใจในวัฒนธรรมป๊อปของเกาหลี ทั้งเพลง-ซีรีส์-ภาพยนตร์ เลยเถิดไปถึงเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และอาหารการกิน

บทความเกี่ยวข้อง

ความฮาแบบ BABYMONSTER! วัดสกิลวาไรตี้กับ Knowing Brothers ดูได้ที่ Viu ▶ คลิก

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save