fbpx
BlogNewsTREND

เล่าเบื้องหลัง 6 เกมใน SQUID GAME ที่เปลี่ยนเกมเด็กเล่นเป็นเกมเสี่ยงชีวิต

หลังจาก SQUID GAME เริ่มออกอากาศมาได้หนึ่งสัปดาห์แล้ว ล่าสุดเบื้องหลังของคอนเซปต์ในแต่ละเกมที่อยู่ในเรื่องก็ได้ถูกเปิดเผยออกมาแล้วผ่านคลิปเบื้องหลังของเรื่อง (ซึ่งอาจจะเป็นสปอยล์ตัวใหญืของคนที่ยังไม่ได้ดูเรื่องนี้)

ความฮาแบบ BABYMONSTER! วัดสกิลวาไรตี้กับ Knowing Brothes ดูได้ที่ Viu ▶ คลิก

SQUID GAME ได้นำเกมการละเล่นของเด็กในเกาหลี 6 เกม มาดัดแปลงพร้อมกับดึงคอนเซปต์บางอย่างออกมาเพื่อสื่อสารกับผู้ชม ซึ่งหลายๆ เกมก็ดูเป็นเกมที่คนไทยจะคุ้นเคยอยู่ แต่ในเกาหลีเองก็มีการใส่รายละเอียดบางอย่างเข้าไปที่ทำให้แต่ละเกมมีความเฉพาะตัวซ่อนอยู่ในนั้น

1 เออีไอโอยู หยุด

จริงๆ แล้วในเกาหลีเรียกชื่อเกมนี้ว่า ‘ดอกมูกุงฮวาบาน’ (무궁화 꽃이 피었습니다) ซึ่งแทนที่จะพูดคำว่า ‘เออีไอโอยู หยุด’ ในการเล่นเกม จะใช้ประโยคว่า ‘มูกุงฮวา กตชี พีออซซึบนีดา’ ซึ่งเป็นชื่อของเกมนี้ โดยคอนเซปต์ที่นำเกมนี้มาใช้เป็นเกมเปิดฉากคือการสามารถรองรับผู้เล่นได้หลายคนพร้อมๆ กัน เป็นเกมที่เล่นง่ายและมีจุดหักมุมที่น่าตื่นเต้น ในส่วนของคาแรคเตอร์เด็กผู้หญิงที่เป็นหุ่นยนต์ในเกมนี้ก็นำมาจากภาพประกอบในหนังสือแบบเรียนของเด็กๆ ที่คุ้นเคยกัน คล้ายกับ ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ ในประเทศไทย

Image

Image

2 เกมแกะน้ำตาล

เกมนี้ในเกาหลีจะเรียกว่า ‘ซอลทัง ป๊บกี’ แปลตรงตัวว่าการแกะน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลที่ถูกนำมาใช้แข่งในเกมนี้เรียกว่าขนม ‘ดัลโกนา’ เป็นน้ำตาลผสมผงฟูที่เอามาเคี่ยวจนจับตัวกันเป็นก้อนแต่จะไม่แข็งเหมือนกับทอฟฟี่ เนื่องจากฝงฟูที่ใส่เข้าไปทำให้เนื้อขนมมีความกรอบ และสามารถหักได้ง่าย ซึ่งเด็กๆ จะนิยมเอามาเล่นแกะลายขนมว่าใครจะแกะออกมาได้เร็วกว่ากัน หรือจะแกะออกมาได้สำเร็จไหม เป็นเกมที่ท้าทายสมาธิ และทักษะแบบเด็กๆ

Image

Image

3 เกมชักเย่อ

เป็นเกมที่ในไทยคุ้นเคยกันดีกับวิธีการเล่น ซึ่งเกมนี้ในเกาหลีเรียกว่า ‘ชุลดารีกี’ เป็นเกมที่ดูเผินๆ แล้วอาจถูกมองว่าแข่งขันกันด้วยกำลัง แต่จริงๆ แล้วเกมนี้จุดสำคัญคือเรื่องของเทคนิค และการร่วมมือกันแบบเป็นทีม ซึ่งการเลือกเกมนี้เข้ามาอยู่ในเรื่องทำให้กรอบของเกมนี้ถูกขยายไปสู้เรื่องของการเอาชีวิตรอด และการตัดสินใจเพียงเสี้ยววินาทีโดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน

Image

Image

4 เกมลูกแก้ว

ในเกาหลีเรียกเกมลูกแก้วว่า ‘กูซึลชิกิ’ ซึ่งเด็กๆ จะใช้ลูกแก้วเป็นเหมือนสมบัติอันล้ำค่าที่ใช้แข่งขัน-เดิมพันกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งในเรื่องนี้ได้นำเสนอฉากการแข่งขันออกมาเหมือนเป็นซอยในหมู่บ้านที่เราเคยเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเด็ก ซึ่งเมื่อดูถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในเกมนี้จะเห็นถึงเรื่องความซื่อสัตย์ของคนเรา เป็นการแสดงออกถึงธรรมชาติของมนุษย์ ที่อยู่ท่ามกลางความจริง ความลวง ความเป็น และความตาย

Image

Image

5 เกมสะพานกระจก

เกมนี้ถูกดัดแปลงมาจากเกมกระโดดข้ามหินของเด็กๆ ที่เรียกว่า ‘จิงกอมดารี’ ซึ่งเกมนี้ถูกใส่เข้ามาเพื่อสื่อถึงความกลัวของคนเรา กับการตัดสินใจที่เสี่ยงแบบ 50:50 โดยการถ่ายทำฉากนี้ถึงแม้ตัวสะพานกระจกจะอยู่สูงจากพื้นแค่เพียง 1.50 เมตร แต่ก็ทำให้นักแสดงรู้สึกกลัวจริงๆ

Image

Image

6 เกมปลาหมึก

เกมที่ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อซีรีส์ ซึ่งในเกาหลีเรียกชื่อเกมนี้ว่า ‘โอจิงออ’ เป็นการละเล่นของเด็กที่ใช้ร่างกายค่อนข้างมาก เป็นเกมการต่อสู้ของเด็กๆ ซึ่งดั้งเดิมจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ทีม เป็นทีมรุกและทีมรับ ทีมรุกจะต้องฝ่าทีมรับเพื่อเข้าไปชิงพื้นที่บริเวณหัวปลาหมึกให้ได้ ในขณะที่ทีมรับก็ต้องคอยผลักทีมรุกออกจากตัวปลาหมึกไป เพื่อกำจัดทีมรุกออกจากเกม ในซีรีส์เกมนี้ถูกใช้เป็นเกมตัดสิน เพื่อหาคนสุดท้ายที่จะเป็นผู้ชนะของ Squid Game

Image

Image

ในตอนนี้ SQUID GAME กลายเป็นเทรนด์ที่ถูกพูดถึงทั่วโลก พร้อมกับคำชมถึงการนำเสนอที่แตกต่างออกไปจากซีรีส์เกาหลีที่คุ้นเคย ถ้าใครยังไม่ได้ดูเรื่องนี้กันตามไปรับชมกันได้ที่ Netflix

อ่านต่อ

Paranoid Android

บรรณาธิการอิสระ และนักเขียนที่สนใจเรื่องราว K-POP / K-DRAMA / K-CULTURE นิยมการเขียนมากกว่าการพูด

บทความเกี่ยวข้อง

Back to top button