NewsBlog

2025 เมื่อสถิติ PAK ‘Perfect All-Kill’ สะท้อนภาพอีกมุมของวงการ K-POP

ในปี 2024 มีเพียง 7 เพลงเท่านั้นที่สามารถทำ PAK หรือ Perfect All-Kill ได้ จากที่เมื่อช่วงหลายปีก่อนจะต้องมีอย่างน้อย 10 เพลงขึ้นไปต่อปีที่ทำสถิตินี้ได้ โดยเฉพาะช่วงปี 2016-2018 ที่มี 47 เพลงทำสถิตินี้ได้สำเร็จ แต่ถึงแม้จะทีเพียง 7 เพลงในปี 2024 ที่ผ่านมาที่ทำสถิตินี้ได้ แต่ตัวเลขที่น่าสนใจกว่านั้นคือแตละเพลงทำสถิตินี้ได้ต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น จนขึ้นมาติด “50 อันดับ PAK ตลอดกาล” บน iCharts ได้ สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเพลง K-Pop


PAK ในปี 2024 – 2025

Perfect All Kill (2024)

  1. IU: Love wins all — 339 ครั้ง (อันดับ 5 All-time)
  2. aespa: Supernova — 317 ครั้ง (อันดับ 7 All-time)
  3. ROSÉ, Bruno Mars: APT. — 282 ครั้ง (อันดับ 8 All-time)
  4. BIBI: Bam Yang Gang — 156 ครั้ง (อันดับ 18 All-time)
  5. ILLIT: Magnetic — 73 ครั้ง (อันดับ 33 All-time)
  6. (G)I-DLE: FATE — 64 ครั้ง (อันดับ 36 All-time)
  7. DAY6: HAPPY — 23 ครั้ง (อันดับ 49 All-time)

Perfect All Kill (2025)

  1. IVE: REBEL HEART — 236 ครั้ง (อันดับ 11 All-time)
  2. G-DRAGON: TOO BAD (feat. Anderson Paak) — 27 ครั้ง (อันดับ 47 All-time, สถิติปัจจุบัน 4 มี.ค.)

เมื่อมองถึงสถิติที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีข้อน่าสังเกตในหลายจุดที่สะท้อนถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับวงการ K-Pop ในขณะนี้ ทั้งในด้านของการสนับสนุนจากแฟนๆ กระแสความนิยม และสีสันความหลากหลายที่เคยเป็นเสน่ห์สำคัญของวงการ

การสนับสนุนของแฟนคลับ

การสนับสนุนของแฟนคลับมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพาเพลงเข้าไปติดชาร์ต จากพฤติกรรมในการสตรีมเพลงของศิลปินที่ชื่นชอบซ้ำ ๆ เพื่อเพิ่มยอดการฟัง ส่งผลไปสู่อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เลือกแนะนำเพลงที่มียอดการฟังสูง ทำให้ผู้ฟังหลายคนได้ฟังเพลงที่มีความนิมมากกว่าเพลงใหม่ที่ไม่เคยฟัง เช่นเดียวกันกับผู้ฟังมักเลือกฟังเพลงที่ฮิตติดชาร์ตก่อนเพื่อตามเทรนด์ ส่งผลให้เพลงที่ติดชาร์ตอยู่แล้วสามารถอยู่ได้นานขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา

🎙GYUBIN ปลื้มเมืองไทยขนาดไหน? ถึงกลับมาถ่าย MV เพลงใหม่ LIKE U 100 ที่กรุงเทพ

▶ คลิกดูสัมภาษณ์พิเศษ

สีสันของ K-POP ที่ดึงดูดความสนใจได้ไม่มากเท่าเดิม

ถึงแม้สถิติส่วนใหญ่ของการทำ Perfect All Kill จะมาจากผลงานเพลงของศิลปินไอดอล K-Pop แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความน่าสนใจในอุตสาหกรรม K-POP นั้นไม่ได้เปิดกว้างเหมือนในช่วงหลายปีก่อน ทั้งจำนวนศิลปินที่ได้รับการพูดถึงแม้ว่าในแต่ละปีจะมีวงเดบิวต์ใหม่มากมายหลายวง แต่ก็มีเพียงแค่ไม่กี่วงที่ได้รับความสนใจและสามารถพาผลงานเพลงเข้ามาติดชาร์ตได้ อีกทั้งการเลือกฟังผลงานเพลงจากศิลปินที่มีความนิยมอยู่แล้ว มากกว่าศิลปินหน้าใหม่ ก็ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับศิลปินหน้าใหม่ที่จะแจ้งเกิดได้ในช่วงเวลาเช่นนี้

นอกจากนี้เพลงจากรายการหรือโปรเจกต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Show Me the Money ที่เคยได้รับความนิยมมากจนติดชาร์ตทำสถิติ Perfect All Kill ได้ทุกซีซันก็ขาดหายไปในช่วงปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่เพลงจากโปรเจคต์รายการ Hangout with Yoo ที่ฮิตในทุกๆ เพลง ก็ไม่สามารถทำสถิตินี้ได้เช่นกัน สะท้อนภาพของความสนใจในกลุ่มคนฟังเพลงในเกาหลีในสองมุม มุมหนึ่งก็คือความสนใจของผู้ฟังที่ขยายออกกว้างขึ้นไปยังเทรนด์เพลงที่หลากหลาย และอีกมุมก็คือมีเพลงที่ดึงดูดความสนใจตลาดในวงกว้างไม่มากเหมือนอย่างที่เคยเป็น

ทางเลือกที่มากขึ้นในการสตรีมเพลง

การเข้ามาของ Spotify, Apple Music หรือแม้แต่ YouTube Music เองก็ทำให้พฤติกรรมในการฟังเพลงของชาวเกาหลีนั้นเปลี่ยนไป โดยแพลตฟอร์มนี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงเพลงได้มากขึ้น ด้วยระบบต่างๆ รวมถึงอีโคซิสเตมของแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ค้นหาเพลงใหม่ๆ และถึงแม้ว่าจำนวนของผู้ใช้ Spotify จะเพิ่มสูงขึ้นมากในเกาหลี แต่ทว่าการสตรีมเพลงบน Spotify ก็ยังไม่ได้นับเข้า iCharts ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจัดอันดับเพลงในเกาหลีแบบควบรวมในทุกแพลตฟอร์มสรีมมิง ซึงปัจจุบันมีเพียง Melon, Genie, Flo, Vibe, Bugs และ YouTube Music (Korea) เท่านั้น ที่มีผลต่อการทำคะแนน Perfect All Kill ในปัจจุบัน

จะมีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของชาร์ตเพลงเพื่อให้สะท้อนพฤติกรรมผู้ฟังในยุคปัจจุบันมากขึ้นหรือไม่ ?

กฎเกณฑ์ของชาร์ตเพลงอาจต้องปรับตัวให้สะท้อนพฤติกรรมผู้ฟังที่เปลี่ยนไป โดยอาจเพิ่มแพลตฟอร์มสตรีมมิงระดับโลก เช่น Spotify Korea, Apple Music เข้ามาคำนวณ เพื่อให้ชาร์ตสะท้อนความนิยมที่แท้จริงของผู้ฟังทั่วไปมากขึ้น รวมถึงอาจนำยอดวิว YouTube หรือกระแสจาก TikTok มาร่วมพิจารณา เพื่อให้ชาร์ตมีความสอดคล้องกับแนวโน้มของวงการเพลงยุคใหม่


การเปลี่ยนแปลงของสถิติ PAK ในปี 2024-2025 สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมเพลง K-Pop ที่พัฒนาไปตามพฤติกรรมของแฟนคลับและแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่หลากหลายมากขึ้น แม้เพลงที่ทำสถิติ PAK ได้จะลดจำนวนลง แต่เพลงที่สามารถทำได้กลับอยู่บนชาร์ตได้นานขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตลาดเพลง ทั้งด้านการสนับสนุนของแฟนๆ การเลือกฟังเพลง และอิทธิพลของแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่เริ่มเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชาร์ตเพลงเกาหลีอย่างชัดเจน

อ่านต่อ

onzon

นักศึกษาฝึกงานที่ฟังเพลงเกาหลีมาตั้งแต่เกิด แม่สอนให้เปิดเคป็อปตั้งแต่เด็ก แฟนคลับเกิร์ลกรุ๊ปที่รอคอยอะไรบางอย่าง delayed but someday

บทความเกี่ยวข้อง

ความฮาแบบ BABYMONSTER! วัดสกิลวาไรตี้กับ Knowing Brothers ดูได้ที่ Viu ▶ คลิก

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save