โลกไอดอล : ทำเซอร์เวย์คอนเสิร์ทไป แล้วได้อะไร ?
ในช่วงที่ผ่านมาในสังคมออนไลน์ของแฟนๆ K-Pop มีความตื่นตัวในการทำเซอร์เวย์มาก ด้วยความหวังว่าการสำรวจที่เกิดขึ้นจะสามารถเป็นโอกาสในการจัดกิจกรรมของวงที่รักในประเทศไทยได้ แต่จริงๆแล้วมันใช่วิธีการที่ถูกต้อง และได้ผลจริงเหรอ ?
ทำเซอร์เวย์คอนเสิร์ทไป แล้วได้อะไร ?
อาจมีหลายๆคนสงสัยในประเด็นนี้อยู่
ในช่วงเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีโอกาสได้พูดคุยกับโปรโมเตอร์และนักลงทุนที่จัดกิจกรรม K-Pop ในประเทศไทย อยู่ 2-3 ราย ถึงโอกาสของวงไอดอลกรุ๊ปรุ่นใหม่ที่จะมีกิจกรรมโปรโมทในอนาคตที่ประเทศไทย
ความฮาแบบ BABYMONSTER! วัดสกิลวาไรตี้กับ Knowing Brothes ดูได้ที่ Viu ▶ คลิก
โดยประเด็นนึงที่ได้คุยกันคือเรื่องของการทำเซอร์เวย์ ว่าจริงๆแล้วการทำเซอร์เวย์มีผลต่อการตัดสินใจในการจัดกิจกรรมแค่ไหน
“การทำเซอร์เวย์ ทำให้เรารู้ว่าวงไหนมีความสนใจมากน้อยเท่าไหร่ในประเทศนั้น ซึ่งมันเป็นไอเดียสำหรับโปรโมเตอร์ที่จะเอาไปประเมินความเป็นไปได้ของการโปรโมทกิจกรรมวงนั้นๆ”
เมื่อถามถึงจำนวนของเสียงตอบรับว่า อย่างน้อยควรจะมีคนแสดงความสนใจสักเท่าไหร่ถึงจะมีโอกาสจัดงานขึ้นมาได้
“จริงๆแล้วจำนวนที่มาจากโพลหรือเซอร์เวย์ มันเป็นแค่ไอเดียสำหรับเราเท่านั้น มันไม่ใช่ตัวเลขจริงที่จะบอกเราได้ว่าคนจะซื้อบัตรเท่ากับจำนวนคนที่ทำโพล บางครั้งมีเสียงตอบรับ 2000-3000 คน ที่สนใจในกิจกรรม แต่พอถึงวันขายบัตรจริง มีเพียงหลักร้อย เท่านั้นที่ตัดสินใจซื้อบัตรเพื่อเข้าร่วมงาน ในขณะที่บางวงเราแค่เห็นพลังของแฟนคลับในการทำกิจกรรมของเค้า เราก็มั่นใจแล้วว่างานสามารถเกิดขึ้นได้”
Nov | Artist | Release |
---|---|---|
1 | BABYMONSTER Kep1er ODD YOUTH | DRIP TIPI-TAP Best Friendz |
4 | MINHO TXT | CALL BACK The Star Chapter: SANCTUARY |
5 | YESUNG SUNGJIN EPEX | It’s Complicated 30 Youth Chapter 2 : YOUTH DEFICIENCY |
6 | DOYOUNG Heize KINO | The Story FALLIN’ Everglow |
7 | VIVIZ | VOYAGE |
8 | IVE x David Guetta XG | Supernova Love AWE |
11 | NCT DREAM ENHYPEN KAVE | DREAMSCAPE ROMANCE : UNTOLD -daydream- Say My Name |
12 | Lovelyz Big Ocean | 닿으면, 너 Follow |
14 | YOUNHA Yves PRIMROSE DAYCHILD | GROWTH THEORY FINAL EDITION I Did Steal Heart CRESCENT |
15 | Jin ATEEZ CLASS:y | Happy GOLDEN HOUR : Part.2 LOVE XX |
18 | TAEYEON NEXZ | Letter To Myself NALLINA |
20 | A.C.E | PINATA |
19 | WayV | HIGH FIVE |
21 | NOWADAYS | Let's get it |
22 | JAY CHANG LOVEONE | NEIGHBORHOOD Funny Honey |
25 | WayV TWS izna | FREQUENCY Last Bell N/a |
26 | IRENE | Like A Flower |
27 | KYUHYUN | COLORS |
วงจากค่ายเล็กๆ หรือวงรุกกี้ที่เกิดขึ้นมาใหม่ มีโอกาสมากแค่ไหนในการที่จะเกิดกิจกรรมในประเทศไทย
“สำหรับวงจากค่ายเล็กๆ หรือวงรุกกี้ ในมุมมองของโปรโมเตอร์และการลงทุนแล้ว มันเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะค่าตัวไม่สูงเหมือนศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้า และเราก็อยากจะสนับสนุนพวกเค้า เพราะถ้าพวกเค้ามีชื่อเสียงขึ้นมา โปรโมเตอร์เองก็จะได้มีชื่อว่าเป็นส่วนช่วยในการผลักดัน แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มแฟนในแต่ละประเทศว่าจะเหมาะสมกับการเกิดกิจกรรมขึ้นไหม เพราะบางวงในไทยอาจจะขายบัตรได้หมดเกลี้ยง แต่พอไปประเทศอื่นแล้วขายบัตรยากมากก็มี ดังนั้นถ้าแฟนคลับมีความแข็งแรง การจะพาไอดอลมาก็ไม่ใช่เรื่องยาก”
การจัดกิจกรรมโปรโมทโดยทั่วไปแล้วสิ่งที่โปรโมเตอร์คำนึงเป็นสำคัญคือสมดุลย์ของ ปริมาณแฟนที่มาร่วมงาน และ ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าตัวศิลปินบวกค่าดำเนินการกิจกรรม
ตัวอย่าง :
ค่าตัวของศิลปินรุกกี้ชาย หนึ่งวงที่ความนิยมกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น มีค่าตัวประมาณ 17 ล้านบาท ในการเข้าร่วมงานแฟนมีทในต่างประเทศ
ค่าดำเนินการต่างๆในการจัดกิจกรรมคิดเป็น 30% รวมกันแล้วตัวเลขกลมๆออกมาน่าจะประมาณ 22 ล้านบาท คือค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ถ้าคิดราคาเฉลี่ยบัตรทั้งงานอยู่ที่ 4000 บาท ก็จะต้องมีผู้ร่วมงานอย่างน้อยประมาณ 5500 คน โดยไม่ต้องมีเงินจากสปอนเซอร์มาสนับสนุน
นี่คือภาพคร่าวๆของสมดุลย์ที่พูดถึง สิ่งสำคัญที่โปรโมเตอร์ใช้ในการตัดสินใจโปรโมทกิจกรรมหนึ่งวง ซึ่งแต่ละวงก็มีค่าตัวที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น วงบอยกรุ๊ปที่ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ววงหนึ่ง มีค่าตัวร่วมงานแฟนมีทอยู่ที่ 3.5 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากเรื่องพลังของแฟนๆแล้ว ในบางครั้ง ก็ยังมีเรื่องของจังหวะและเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่นในบางวงก็จะมีตารางเฉพาะช่วงสำหรับการโปรโมทต่างประเทศ ใน 12 เดือน จะมีเพียง 1 เดือนเท่านั้นที่เป็นช่วงสำหรับโปรโมทในเอเชีย ซึ่งการตัดสินใจมาโปรโมทในต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับแผนการตลาดของวงนั้นๆด้วย
สำหรับการทำเซอร์เวย์กิจกรรมของวง K-Pop ก็เป็นที่พึ่งทางใจอย่างหนึ่งเท่านั้น ยิ่งการทำเซอร์เวย์ที่อยู่นอกกลุ่มแฟนแล้วก็ยิ่งยากที่จะเอาผลมาใช้ในการตัดสินใจของโปรโมเตอร์ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเข้มแข็งในกลุ่มแฟนเอง ที่ควรแสดงออกมาผ่านช่องทางสังคมออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เพราะโปรโมเตอร์ก็คอยสังเกตในสังคมออนไลน์เพื่อเฝ้าดูกระแสอยู่เสมอเช่นกัน
ย่อหน้าสุดท้าย สำหรับแฟนดอมใดที่ยังไม่มีโอกาสได้พบกับไอดลที่รักในประเทศไทย และสนใจจะลองรวมพลังในแบบที่ไม่ใช่การเซอร์เวย์ด้วยโพลทั่วไป แล้วอยากให้ Hallyu K เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือ ติดต่อเข้ามาได้ที่อีเมล hallyukgirls@gmail.com หรือในข้อความเพจ Hallyu K+ Girls ได้ เพราะเราเชื่อว่าพลังความสร้างสรรค์ของแฟนดอมมีมากกว่าการเซอร์เวย์ด้วยโพล