fbpx
BlogEddie BlogHALLYU K PICKS!News

‘เศรษฐศาสตร์เกิร์ลกรุป’ กับการลงทุนเพื่อรายการเพลง KPOP ที่เหมือนจะไม่คุ้ม?

รายการเพลงในช่องสถานีโทรทัศน์หลักของเกาหลียังคงดูเหมือนเป็นเหมือนสิ่งที่จำเป็นสำหรับการโปรโมตผลงานของวงไอดอลกรุป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วรายการเหล่านี้มีเรตติงที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับรายการอื่นๆของสถานี

ยูซองอุน นักเขียนจากหนังสือ ‘เศรษฐศาสตร์เกิร์ลกรุป’ ได้พูดถึงประเด็นการลงทุนของวงไอดอล KPOP โดยเฉพาะในกลุ่มของวงเกิร์ลกรุปเพื่อขึ้นโปรโมตในรายการเพลง ซึ่งเหมือนเป็นสิ่งที่ทุกวงต้องทำเพื่อโปรโมตการคัมแบคและคว้าโอกาสในการเป็นที่รู้จักจากสาธารณะ

ความฮาแบบ BABYMONSTER! วัดสกิลวาไรตี้กับ Knowing Brothes ดูได้ที่ Viu ▶ คลิก

10 ล้านวอนเพื่อรายการเพลง

ในความเป็นจริงแล้วการโปรโมตในรายการเพลงไม่ใช่เรื่องง่าย จากข้อมูลที่นักเขียนได้ทราบจากต้นสังกัดของวงไอดอล ค่าใช้จ่ายในการโปรโมตสำหรับรายการเพลงจะต้องมีการลงทุนอย่างน้อย 10 ล้านวอน (ประมาณ 3 แสนบาท) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของ ชุดในการแสดง ค่าจ้างทีมงาน ค่าอาหาร และค่าเดินทาง

โปรดิวเซอร์ไม่ชอบชุดซ้ำกับรายการอื่น

หนึ่งในข้อมูลที่นักเขียนได้ชี้ให้เห็นคือ ความเฉพาะเจาะจงของแต่ละรายการเพลงที่โปรดิวเซอร์ไม่อยากให้ไอดอลที่ขึ้นโปรโมตในรายการใส่ชุดซ้ำกับรายการเพลงอื่น ทำให้ในการเตรียมชุดสำหรับการแสดงแต่ละวงต้องมีชุดอย่างน้อย 4 เซตที่ไม่ซ้ำกัน และในกรณีของวงที่มีสมาชิกจำนวนหลายคนการลงทุนในส่วนนี้ก็จะยิ่งมากตามไปด้วย

แต่รายการเพลงกลับเรตติงต่ำ จนทำให้หลายค่ายคิดว่าไม่คุ้มกับการลงทุน

เรื่องเงินอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับบางค่าย แต่ที่ทำให้ค่ายรู้สึกลังเลมากกว่าในตอนนี้คือเรื่องของเรตติงรายการเพลงที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับรายการอื่นๆของสถานี อย่างเช่นรายการ Music Bank ที่ออกอากาศทาง KBS แต่เรตติงกลับต่ำกว่า 1% บ่อยครั้ง ซึ่งล่าสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมาเรตติงรายการอยู่ที่ 1.4% ก็นับเป็นเรตติงที่สูงของรายการแล้ว

คลิกเพื่อชม: รายการเพลง Music Bank ตอนล่าสุด

แต่ถึงแม้เรตติงของรายการจะต่ำลงแค่ไหน การลงทุนสำหรับวงไอดอลเพื่อโปรโมตในรายการเพลงกลับไม่ได้ลดน้อยลงตามด้วยในขณะที่ค่าจ้างของศิลปินที่ได้รับจากการออกรายการยังคงอยู่ที่ราคาเดิมเหมือนกับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งหนึ่งในทีมงานค่ายเพลงได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า

“ถ้าวัดกันที่รายได้แล้ว ไปออกงานอีเวนท์ตามท้องถิ่นยังได้เงินมากกว่าไปออกรายการเพลงทางทีวี”

แล้วอะไรคือเหตุผลสำคัญของการที่ไอดอลกรุปต้องพยายามไปโปรโมตในรายการเพลง?

คำว่า ‘บัฟเฟตต์ เอฟเฟกต์’ เป็นหนึ่งในคำที่มักเห็นกันในหนังสือพิมพ์หรือบทความด้านธุรกิจ ที่อธบิายถึงมูลค่าหลักทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นแค่เพียงเพราะคำพูดด้านบวกของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือการตัดสินใจลงทุนของเค้า

สำหรับวงการเกิร์ลกรุปแล้ว คำว่า ‘บัฟเฟตต์ เอฟเฟกต์’ อาจถูกนำมาใช้อธิบายความพยายามเพื่อโปรโมตในรายการเพลงได้ค่อนข้างชัดเจน โดยหนึ่งในผู้คร่ำหวอดในวงการบันเทิงเกาหลีได้ให้ข้อมูลกับนักเขียนว่า ‘แค่เพียงได้ออกรายการเพลงก็สามารถทำให้ค่าจ้างของวงวงหนึ่งเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตัว’

ตัวแทนค่ายที่มีศิลปินเป็นวงเกิร์ลกรุป 5 คนได้ให้ข้อมูลว่า

“ก่อนหน้านั้นวงได้ค่าจ้างอยู่ที่งานละ 2-3 ล้านวอน แต่หลังจากที่ได้ไปออกรายการเพลงแล้ว ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านวอน”

นอกจากนี้ ‘บัฟเฟตต์ เอฟเฟกต์’ ยังส่งผลให้ความนิยมของวงไอดอลกรุปเป็นที่ต้องการของรายการวาไรตี้อีกด้วย โดยทุกๆค่ายต่างพูดเหมือนกันว่าถ้าหากได้อันดับ 1 ในรายการเพลงแล้ว จะมีผลต่อการได้ไปออกรายการวาไรตี้ของสถานีมาก

“ถ้าหากได้อันดับ 1 ในรายการเพลงแล้ว ค่าจ้างสำหรับรายการวาไรตี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าทันที”

นักเขียนยังได้ยกตัวอย่างของวง Girl’s Day ที่ได้อันดับ 1 ในรายการเพลงครั้งแรกหลังจากวงเดบิวต์มา 3 ปี ซึ่งทำให้วงได้เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์ต่างๆเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทันที และทำให้ต้นสังกัดมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงเวลาแค่ 1 ปี

Image result for girl's Day 1st win Female President

สำหรับการขึ้นโปรโมตในรายการเพลงแล้วมีเหตุผลมากกว่าแค่เรื่องรายได้ค่าจ้างจากรายการ แต่การโปรโมตรายการเพลงยังเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นยอดขายอัลบัม ยอดขายเพลงซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการคำนวนคะแนนประจำสัปดาห์ และอันดับ 1 จากรายการเพลงยังนับเป็นความสำเร็จ เป็นเกียรติ เป็นชื่อเสียงของวงที่มีผลต่อการทำกิจกรรมต่อไปในระยะยาว

Source 1

อ่านต่อ

Eddie Sophon

ผู้ก่อตั้งร่วมของ Hallyu K Star, โฮสต์พอดแคสต์ 'ดูซีรีส์ให้ซีเรียส' ผู้สนใจในวัฒนธรรมป๊อปของเกาหลี ทั้งเพลง-ซีรีส์-ภาพยนตร์ เลยเถิดไปถึงเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และอาหารการกิน

บทความเกี่ยวข้อง

Back to top button